ชาวบ้าน บ้านแหง อ.งาว เฮ ศาลปกครองพิพากษาให้เพิกถอนประทานบัตรหลังต่อสู้คัดค้านไม่ให้ใช้พื้นที่ป่าทำเหมืองแร่มาร่วม10ปี

Last updated: 23 เม.ย 2563  |  1456 จำนวนผู้เข้าชม  | 

ชาวบ้าน บ้านแหง อ.งาว เฮ ศาลปกครองพิพากษาให้เพิกถอนประทานบัตรหลังต่อสู้คัดค้านไม่ให้ใช้พื้นที่ป่าทำเหมืองแร่มาร่วม10ปี

วานนี้ (22 เมษายน 2563) เวลา 10.00 นาฬิกา ศาลปกครองเชียงใหม่ ได้อ่านคำพิพากษา คดีประทานบัตรเหมืองแร่ถ่านหินลิกไนต์ บ้านแหง ลำปาง (ส.6/2558 ซึ่งเป็นคดีดังพิพาทเกี่ยวกับกิจการเหมืองแร่ถ่านหินลิกไนต์ ในพื้นที่บ้านแหง อำเภองาว จังหวัดลำปาง ระหว่าง ประชาชนกลุ่มรักษ์บ้านแหง โดยนายเจตน์ ศรีเงิน กับพวกรวม 386 คน ผู้ฟ้อง คดี กับ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม กับพวกรวม 8 คน ผู้ถูกฟ้องคดี โดยไม่ได้มีกลุ่มชาวบ้านผู้ฟ้องไปร่วมฟังที่ศาลเนื่องจากสถานการณ์โควิด-19 แต่ได้รอฟังคำพิพากษาอยู่ที่หมู่บ้านแทน

 

 




เนื่องจากที่ผ่านมาชาวบ้านในพื้นที่ตำบลบ้านแหง อ.งาว รวมตัวกันโดยใช้ชื่อว่า กลุ่มรักษ์บ้านแหง ต่อสู้และคัดค้านโครงการเหมืองแร่ถ่านหินลิกไนต์ในพื้นที่ มาตั้งแต่ปี 2553 โดยมีการฟ้องคดีต่อศาลปกครองเชียงใหม่ รวม 3 คดี ได้แก่

1. คดีฟ้องเพิกถอนรายงานการไต่สวนพื้นที่เหมืองแร่ ฟ้องในปี 2553 (ส.2/2553) ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้อง เมื่อวันที่ 26 เมษายน 2561 คดีอยู่ระหว่างอุทธรณ์

2. คดีฟ้องเพิกถอนการออกหนังสืออนุญาตให้เข้าทำประโยชน์ในเขตป่าสงวนแห่งชาติหรืออยู่อาศัยในเขตป่าสงวนแห่งชาติเพื่อทำเหมืองแร่ถ่านหินลิกไนต์ ฟ้องในปี 2557 (ส.13/2557) ศาลชั้นต้นพิพากษาให้เพิกถอนใบอนุญาตป่าไม้ฯ เมื่อวันที่ 4 มีนาคม 2563 และ

3. คดีฟ้องเพิกถอนประทานบัตรเหมืองแร่ลิกไนต์ 1 แปลง ฟ้องในปี 2558 (ส.6/2558) ซึ่งศาลได้นัดฟังคำพิพากษาวันนี้ (22 เมษายน 2563) เบื้องต้นศาลได้มีคำสั่งให้เพิกถอนประทานบัตรเหมืองแร่ลิกไนต์ที่ออกให้กับ บริษัท เขียวเหลือง จำกัด ดังกล่าวตามคำฟ้องของชาวบ้าน ซึ่งถือว่าเป็นหนึ่งชัยชนะของชาวบ้านที่ออกมาปกป้องผลประโยชน์ของตนเองตามสิทธิหลังต่อสู้กันมาเกือบ10ปี ซึ่งรายละเอียดทั้งหมดจะได้นำเสนอต่อไป

สำหรับการฟ้องคดีนี้ กลุ่มรักษ์บ้านแหงขอให้ศาลพิพากษาให้เพิกถอนประทานบัตรของบริษัท เขียวเหลือง จำกัด เพิกถอนรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม และเพิกถอนรายงานประชาคมที่จัดทำโดยไม่ชอบกฎหมาย และขอให้ตัดสินให้ผู้ถูกฟ้องคดีทั้งแปดกระทำไม่ชอบด้วยกฎหมายในขั้นตอนต่างๆ ในการขออนุมัติอนุญาตประทานบัตร ขาดกระบวนการรับฟังความคิดเห็น การมีส่วนร่วมของประชาชน และการเผยแพร่ข้อมูลข่าวสาร

ข้อมูลของมูลนิธิศูนย์ข้อมูลชุมชน ระบุถึงคำพิพากษาของศาลปกครองที่ให้เพิกถอนประทานบัตรเหมืองแร่ว่า ศาลถือว่าเนื่องจากใบอนุญาตใช้ป่าอนุรักษ์โดยบริษัทเหมืองแร่ถูกเพิกถอนในคดีที่แยกไปแล้วเมื่อเดือนก่อน ใบอนุญาตสัมปทานก็จะถูกเพิกถอนด้วย

กระบวนการที่กฎหมายกำหนดให้บริษัทได้รับใบอนุญาตสัมปทานรวมถึงผลิตรายงานการสำรวจพื้นที่เหมืองแร่กับตัวแทนที่เกี่ยวข้องมั่นใจว่ามีการยินยอมจากชุมชนผ่านการได้ยินสาธารณะและมั่นใจว่าไม่มีความขัดแย้งกับชุมชนและผลิต รายงานการประเมินผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมที่มีส่วนร่วมและ

โจทก์โต้แย้งว่าเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องกับคดีและอนุญาตให้สัมปทานแม้ว่าบริษัทเหมืองแร่จะไม่เป็นไปตามข้อกำหนดทางกฎหมาย นอกจากนี้ยังระบุว่าเจ้าหน้าที่ไม่ได้ให้ข้อมูลแก่ชาวบ้านเกี่ยวกับโครงการไม่มีการได้ยินสาธารณะหรือให้โอกาสองค์กรสิ่งแวดล้อมและสุขภาพแจ้งให้ชาวบ้านทราบผลกระทบของการทำเหมืองแร่ตามที่กำหนดไว้ในข้อ 66 และ 67 ของ รัฐธรรมนูญปี 2017 ของประเทศไทย รายงาน eia ที่ทำโดยบริษัทไม่เคยได้รับการปรึกษากับชาวบ้านในพื้นที่

ขณะที่เว็ปไซต์ GREENEWS ได้ระบุการสัมภาษณ์ของ ส.รัตนมณี ทนายความ ตอนหนึ่งว่า สำหรับการพิพากษาเพิกถอนประทานบัตร แต่ก็ยังอยากให้ศาลพิจารณาพิพากษาเรื่อง EIA และการจัดทำประชาชาคม ด้วย เพื่อให้เป็นบรรทัดฐานต่อไป โดยหลังจากนี้ผู้ฟ้องคดีจะหารือกันอีกครั้งว่าจะยื่นอุทธรณ์ต่อหรือไม่

เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง

Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้