ป.ป.ช.ร่วมกับชมรมสตรองฯเดินหน้าหาข้อเท็จจริงโครงการจัดซื้อวัสดุอุปกรณ์ป้องกันเชื้อไวรัสโควิดมูลค่ากว่าล้านบาท ของแพง ใช้งานมีแต่ปัญหา

Last updated: 8 พ.ค. 2563  |  921 จำนวนผู้เข้าชม  | 

ป.ป.ช.ร่วมกับชมรมสตรองฯเดินหน้าหาข้อเท็จจริงโครงการจัดซื้อวัสดุอุปกรณ์ป้องกันเชื้อไวรัสโควิดมูลค่ากว่าล้านบาท ของแพง ใช้งานมีแต่ปัญหา

 

 วันนี้ นายณรงค์ เสาเหม ผู้อำนวยการสำนักงาน ป.ป.ช.ประจำจังหวัดลำปาง ซึ่งได้มอบหมายให้ นางวรรณภา ปัญญาผูก จพง.ป้องกันการทุจริตชำนาญการ สำนักงาน ป.ป.ช.จังหวัดลำปาง พร้อมด้วย นายสถิตย์ นิตย์สมบูรณ์ รักษาการแทนประธานชมรมสตรอง จิตพอเพียงต้านทุจริต จังหวัดลำปางและคณะกรรมการชมรมฯ ลงพื้นที่พบ อสม.ในพื้นที่เทศบาลนครลำปาง เพื่อสอบถามข้อเท็จจริงกรณีที่มีการร้องเรียนผ่านสื่อมวลชนและมีการเผยแพร่ข่าวไปก่อนหน้านี้เกี่ยวกับโครงการจัดซื้อวัสดุอุปกรณ์ป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนนา2019 จำนวน 11 รายการ ที่เทศบาลนครลำปางจัดซื้อและได้ทำพิธีมอบให้กับ 43 ชุมชน ไปเมื่อวันที่ 21 เม.ย.ที่ผ่านมา แต่ปรากฎว่าวัสดุอุปกรณ์บางตัวราคาแพงและไม่มีประสิทธิภาพ โดยเฉพาะเครื่องวัดอุณหภูมิที่ชุมชนใช้งานวัดอุณหภูมิร่างกายของผู้เข้าร่วมกิจกรรมต่างๆได้เพียง2-3คน จากนั้นเครื่องก็จะไม่สามารถทำงานได้ ซึ่งซื้อมาในราคาสูงถึงเครื่องละ 3,900 บาท ขณะที่เครื่องที่หน่วยงานอื่นๆใช้ สามารถใช้งานได้มีประสิทธิภาพมากกว่าแต่ราคาถูกกว่า ส่วนน้ำยาฆ่าเชื้อก็มีราคาแพงกว่าที่จำหน่ายในท้องตลาดมาก

จากการลงสอบถาม อสม.ที่มีปัญหาทราบว่าโครงการดังกล่าวเทศบาลนครลำปางเป็นผู้ดำเนินการจัดทำโครงการ จัดซื้อวัสดุอุปกรณ์ทุกอย่างและให้ อสม.ไปรับมอบสิ่งของ โดยกองทุนส่งเสริมสุขภาพเทศบาลนครลำปางโอนเงินจำนวน 28,000 บาทเข้าบัญชีของชุมชน และให้ ชุมชนเบิกเงินและนำเงินสดจำนวน 26,300 บาท มาให้ จนท.เทศบาล และ จนท.ได้ให้ อสม.ซึ่งเป็ฯผู้มารับของเซ็นต์รับมอบสิ่งของและเซ็นต์รับเงิน เพื่อแลกกับวัสดุอุปกรณ์ที่เทศบาลเป็นผู้ดำเนินการประสานงานจัดซื้อให้ โดยไม่สามารถที่จะตรวจสอบวัสดุอุปกรณ์ใดๆได้ และเมื่อรับวัสดุอุปกรณ์มาแล้ว ก็นำมาใช้งานและก็เกิดปัญหาใช้งานไม่ได้จึงสร้างความอึดอัดให้กับ อสม.ที่ทำงานเป็ฯอย่างมา เพราะเครื่องวัดอุณหภูมิมีความจำเป็นต้องใช้งานตลอด

หลังจากนั้นในเวลา 13.30 น. ทางคณะทั้งหมดได้เดินทางไปยังสำนักงานเทศบาลนครลำปางเพื่อพบนายกเทศมนตรีนครลำปาง เพื่อขอทราบข้อเท็จจริงเกี่ยวกับโครงการดังกล่าว แต่ นายกเทศมนตรีไม่อยู่ จึงมีเพียง นายชาตรี สุขารมย์ ปลัดเทศบาลนครลำปาง นายยุทธนา ศรีสมบูรณ์รองปลัดเทศบาลนครลำปาง และ นายวิชญ์ศิคภัทร์ วงศ์มณี ผอ.กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม เข้าชี้แจงและให้ข้อมูลในเรื่องดังกล่าว ซึ่งใช้เวลาสอบถามข้อมูลเกือบสามชั่วโมง

โดยทาง จนท.ป.ป.ช.และคณะกรรมการชมรมสตรองฯ ได้สอบถามถึงประเด็นที่เกี่ยวกับที่มาของงบประมาณที่มีการจัดสรรในการซื้อวัสดุอุปกรณ์ดังกล่าว ขั้นตอนการดำเนินงานและการแก้ปัญหาที่เกิดขึ้น

ปลัดเทศบาลนครลำปางและรองปลัดเทศบาลนครลำปาง ได้ระบุว่ากองทุนส่งเสริมสุขภาพเป็นเงินที่ได้รับการสนับสนุนจากกองทุนสุขภาพแห่งชาติตามรายหัวซึ่งเทศบาลนครลำปางได้รับงบปีละประมาณ2.5ล้านบาท ทางเทศบาลนครลำปางสมทบอีก 1.5 ล้านบาท  เพื่อบริการด้านสุขภาพอนามัยของประชาชน โดยประชาชน หน่วยงาน ในพื้นที่รับผิดชอบสามารถเขียนโครงการเข้ามาขอใช้เงินจากกองทุนส่งเสริมสุขภาพเทศบาลนครลำปางได้ เช่นเดียวกับชุมชนหากต้องการขอรับการสนับสนุนก็เขียนโครงการมา เมื่อเขียนโครงการมาแล้วจะมีคณะกรรมการเพื่อพิจารณาโครงการ หากคณะกรรกมารเห็ฯชอบก็อนุมัติและจะโอนเงินให้กับผู้ที่เสนอโครงการให้ไปดำเนินการ เมื่อเสร็จสิ้นก็จะให้ผู้เสนอโครงการสรุปการดำเนินงานส่งมาให้กับกองทุนฯหากเงินที่สนับสนุนไปใช้ไม่หมดผู้เสนอโครงการก็ต้องคืนเงินกลับเข้ากองทุน

ผอ.กองสาธารณสุข ยอมรับว่าโครงการนี้นายกเทศมนตรีได้ให้เจ้าหน้าที่ของเทศบาลซึ่งส่วนใหญ่ก็จะเป็นฝ่ายพัสดุอำนวยความสะดวกให้ โดยการช่วยทำโครงการ ประสานงานบริษัทเพื่อจัดซื้อวัสดุอุปกรณ์ทั้งหมดจริง แต่ทำด้วยความหวังดีเพราะต้องการให้ชุมชนมีอุปกรณ์ที่จะมาใช้ในการป้องกันโรค เพราะขณะนั้นของหายาก ( ไม่ระบุว่าขณะนั้นคือเมื่อไหร่) ประกอบกับเชื่อว่าบริษัทดังกล่าวน่าจะมีวัสดุอุปกรณ์ที่ได้มาตรฐานเพราะได้รับการบอกต่อมาจากนายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดลำปาง ส่วนที่อยู่ตนเองไม่ทราบว่าอยู่ไหนเพราะได้เป็นคนประสานงาน เพิ่งรู้จักตัวแทนบริษัทฯตอนที่ตัวแทนบริษัทมาสาธิตการใช้เครื่องเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา และเชื่อว่าชุมชนไม่น่าจะหาซื้อเองได้ ส่วนการโอนเงินก็ให้โอนเงินเข้าชุมชนและให้ชุมชนเบิกเงินนำมาจ่ายให้ตัวแทนชุมชนที่ตั้งขึ้นมา4คนตามเขต เพื่อรวบรวมและส่งให้บริษัท

ส่วนการแก้ปัญหาก็จะให้ชุมชนที่มีปัญหาสามารถเปลี่ยนได้เพราะบริษัทรับประกัน1ปี หรือ หากจะขอเปลี่ยนเป็นรุ่นอื่นทางบริษัทยินดีเปลี่ยนให้พร้อมกับจะมีของแถมให้ด้วย

ทาง จนท.ป.ป.ช. และ คณะกรรมการชมรมสตรอง ได้ขอข้อมูลทั้งหมดในการดำเนินงานจัดทำโครงการ และ ข้อมูลบริษัททั้งหมดที่ีมีการจัดซื้อวัสดุอุปกรณ์ทั้ง11รายการ พร้อมแนะนำให้ จนท.แจ้งกับชุมชนทั้ง 43 ชุมชน ให้สามารถตัดสินใจได้ด้วยตัวเองว่าวัสดุอุปกรณ์ทั้ง 11 รายการที่ได้รับไปนั้นหากไม่ประสงค์จะใช้หรือชำรุดบกพร่องสามารถส่งคืนโดยบริษัทจะต้องคืนเงินตามจำนวนให้กับชุมชน หรือ เปลี่ยนสินค้าได้ โดยไม่มีเงื่อนไขใดๆเพิ่มเติม และได้ฝากเรื่องการทำงาน ขอให้คำนึงถึงระเบียบ ขั้นตอน ที่ถูกต้อง โดยเฉพาะการใช้จ่ายงบประมาณที่เกี่ยวข้องกับประชาชนต้องให้คุ้มค่าและเกิดประโยชน์สูงสุด 

เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง

Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้