ชาวบ้านห้วยคิงตามทวงถามความคืบหน้าการอพยพให้เวลาอีก1เดือนหากการอพยพไม่คืบจะยกระดับการทวงถามเป็นการชุมนุมแทนด้านนายอำเภอแม่เมาะระบุได้ข้อสรุปแล้วว่า คณะกรรมการฯมีมติให้กระทรวงพลังงานและกฟผ.พิจารณาจ่ายเงินชดเชยตามมติ ครม.ปี62

Last updated: 21 ก.ค. 2563  |  1305 จำนวนผู้เข้าชม  | 

ชาวบ้านห้วยคิงตามทวงถามความคืบหน้าการอพยพให้เวลาอีก1เดือนหากการอพยพไม่คืบจะยกระดับการทวงถามเป็นการชุมนุมแทนด้านนายอำเภอแม่เมาะระบุได้ข้อสรุปแล้วว่า คณะกรรมการฯมีมติให้กระทรวงพลังงานและกฟผ.พิจารณาจ่ายเงินชดเชยตามมติ ครม.ปี62

 

 

ที่ว่าการอำเภอแม่เมาะ จังหวัดลำปาง นางแสงจันทร์ มูลซาว ผู้ใหญ่บ้าน หมู่6 บ้านห้วยคิง ต.แม่เมาะ อ.แม่เมาะ พร้อมลูกบ้านรวมประมาณ 200 คน ได้เดินทางมาพบกับนายนิมิตร ผดุงศิลป์ไพโรจน์ นายอำเภอแม่เมาะ เพื่อติดตามความคืบหน้าการอพยพชาวบ้านบ้านห้วยคิงตามมติ ครม.15 ตุลาคม 56 แต่จนถึงขณะนี้ก็ยังคงไม่สามารถเข้าไปอยู่ได้ครบทั้งหมด

โดยนายวิวัฒน์ ปินตา ชาวบ้านบ้านห้วยคิง ระบุว่าที่ผ่านมาที่ชาวบ้านไม่มีการชุมนุมก็เนื่องจากต้องการให้ทางรัฐได้มีเวลาในการทำงานอย่างเต็มที่ แต่สุดท้ายก็ยังไม่สามารถแก้ปัญหาให้กับชาวบ้านได้ ดังนั้นสุดท้ายแล้วชาวบ้านก็คงต้องออกมาแก้ปัญหาด้วยตัวเองเพราะคงรอไม่ไหวอีกต่อไป เมื่อเทียบกับชาวบ้านดงการแก้ปัญหามาทีหลังแต่ขณะนี้การดำเนินงานในพื้นที่อพยพเดินหน้าไปเกือบ90%แล้ว แต่กับชาวบ้านห้วยคิงซึ่งเป้ฯผู้ที่ได้รับผลกระทบโดยตรงและเป็นผู้เรียกร้องตั้งแต่แรกทำไมถึงยังแก้ปัญหายังไม่จบ

ขณะที่นางแสงจันทร์ มูลซาว ผู้ใหญ่บ้าน ได้เล่าว่าเมื่อวานนี้ตนเองเข้าร่วมประชุมได้ข้อสรุปว่า คณะกรรกมารทั้ง 30 ท่่นไม่เห้ฯชอบที่จะให้มีการจ่ายเงินชดเชยให้กับชาวบ้านบ้านเมาะหลวง โดยไม่รับผิดชอบมติ ครม.30 เม.ย.62คือ เห็นชอบที่ กฟผ.สั่งจ่ายเงินให้ชาวบ้านบ้านเมาะหลวงจำนวน 63 ราย 74 แปลง เป็นเงินรวม 73 ล้านบาท เหตุผลคือ เพราะมีชาวบ้านเมาะหลวง บางคนจำนวน 9 ราย ที่ไม่ยอมลงรายชื่อเสนอขอมติ ครม. เมื่อมติออกมาแล้วจึงไม่ได้รับจึงมีการร้องเรียนเกิดขึ้น ทำให้การประชุมเมื่อวานนี้จึงให้พลังงานจังหวัดและ กฟผ. ไปหารือกันและหาทางออกภายใน1เดือน ได้ความเห็นแล้วให้เสนอคณะอำนวยการเป็นผู้ตัดสินใจว่าจะจ่ายได้หรือไม่ และเรื่องต้นไม้มติในที่ประชุมเห้นควรว่าเมื่อชาวบ้านได้ค่าชดเชยแล้วต้นไม้ กรณีของบ้านห้วยคิงใช่ พรบ.กรมชลฯ ว่า ต้นไม่ทุกต้นเป็นของชาวบ้าน แต่การประชุมเมื่อวานนี้นี้ มติในที่ประชุมมีมติว่าต้นไม้ทุกต้นหลังจ่ายเงินชดเชยเรื่องที่ดินแล้วต้องตกเป็นของรัฐ แม้แต่ต้นสัก รัฐจะจ่ายเพียงต้นละ 1,000 บาท ไม่คุ้มแน่นอน เพราะบ้านบางหลังมีการปลูกต้นสักมานานมีขนาดกว่า5คนโอบ จะจ่ายเพียงต้นละ 1,000 บาท ซึ่งตนเองเห็นว่าเป็นการเอาเปรียบชาวบ้านเป็นอย่างมาก ดังนั้นก็อยู่ที่ชาวบ้านว่าจะทำอย่างไรกับต้นไม้ของตัวเองเมื่อรัฐเอาเปรียบประชาชน ส่วนประเด็นเรื่องที่ดินที่จะมีการชดเชยสำหรับผู้ที่อยู่อาศัยในครอบครัวเดียวกันคือเจ้าบ้านพ่อแม่ได้รับ1สิทธิ์คือ 100% ลูก 50% ผู้อาศัย 1ใน3 ส่วน ทั้งนี้ให้กลับไปใช้ภาพถ่ายดาวเทียมเมื่อ 15 ก.ย. 57 ใครที่เข้ามาอยู่หลังจากนี้ถือว่าบุกรุกจะไม่ได้ค่ารื้อถอน

ดังนั้นในวันนี้จึงได้มีการยื่นหนังสือถึงผู้ว่าราชการโดยผ่านทางนายอำเภอแม่เมาะ โดยขอให้ดำเนินการ3ข้อคือ

1.เร่งรัดอพยพราษฎรหมู่6 บ้านห้วยคิง และเร่งดำเนินการก่อสร้างสิ่งสาธาณูปโภคทุกอย่าง

2.เร่งรัดการจ่ายเงินค่าเวนคืนการอพยพให้กับราษฎรบ้านห้วยคิง โดยขอรับเงินค่าเวนคืนการอพยพพร้อมกับราษฎรตำบลบ้านดง

3.เร่งรัดการจ่ายเงินชดชเชยเยียวยาค่าต้นไม้และสิ่งก่อสร้างให้กับราษฎรบ้านเมาะหลวงซึ่งเป็นพื้นที่รองรับการอพยพราษฎรบ้านห้วยคิง

หลังจากนั้นเมื่อนายอำเภอเดินทางมาถึง ได้มีการพูดคุยกันในประเด็นมติของคณะกรรกมารพิจาณาการอพยพฯ เมื่อวานนี้ที่มีความเข้าใจไม่ตรงกัน ซึ่งก็มีการโต้เถียงกันพอสมควรโดยนายอำเภอแม่เมาะได้อธิบายว่า เมื่อปี 2556 ได้มีการตั้งคณะกรรมกรขึ้นมาเพื่อพิจารณาเรื่องการอพยพ แต่การประชุมเมื่อวานนี้ทุกอย่างเรียบร้อยและได้ข้อสรุปแล้วว่ากรณีการจ่ายเงินชดเชยเยียวยาค่าต้นไม้และสิ่งปลูกสร้างในพื้นที่ที่ไม่มีเอกสารสิทธิ์ ในพื้นที่บ้านเมาะหลวง ซึ่งเป็นพื้นที่การอพยพราษฎรบ้านห้วยคิง ไปยังคณะอำนวยการถ5หมู่บ้านว่า ควรมอบหมายให้กระทรวงพลังงาน และ กฟผ.เป็นผู้จ่ายเงินค่าชดเชยใดๆตามมติ ครม.30 เม.ย.62 ขณะนี้เพียงรอวันที่ 4 ส.ค.นี้ นำรายงานมติทั้งหมดเสนอให้คณะอำนวยการฯที่จะมาประชุมที่ กฟผ.(แม่เมาะ) ทราบเท่านั้น จากนั้น กฟผ.ก็จะเดินหน้าในการจ่ายเงินให้กับ 63 ราย เมื่อจ่ายเสร็จก็รายงานให้ ผู้ว่าทราบเพื่อจะมอบพื้นที่จากนั้นคณะกรรมการชุดต่างๆที่วางแบบแผนไว้ก็จะเริ่มเข้าดำเนินงานได้ต่อไป

ทั้งนี้ชาวบ้านได้ขอให้ผู้ว่าราชการจังหวัดลำปางเดินทางมาพบและให้ความมั่นใจกับเรื่องดังกล่าวอีกครั้งในวันที่ 30 ก.ค.63 นี้ ซึ่งนายวิวัฒน์ ระบุว่าหากหลังจากนี้การดำเนินงานไม่เห็นผลหรือไม่มีความคืบหน้าภายในหนึ่งเดือนชาวบ้านจะยกระดับการทวงถามติดตามขึ้นเป็นการชุมนุมและแจ้งความดำเนินคดีกับเจ้าหน้าที่ที่มีส่วนในการดำเนินงานทุกขั้นตอนต่อไป

เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง

Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้