#รู้จักกันไหม #กระจกจืน #กระจกเกรียบ #กระจกโบราณภูมิปัญญาล้านนา #บางเฉียบ #ตัดด้วยกรรไกรได้ #เย็บปีกหมอนได้

Last updated: 14 ธ.ค. 2563  |  2305 จำนวนผู้เข้าชม  | 

#รู้จักกันไหม #กระจกจืน #กระจกเกรียบ #กระจกโบราณภูมิปัญญาล้านนา #บางเฉียบ #ตัดด้วยกรรไกรได้ #เย็บปีกหมอนได้

กระทรวง อว. โดย วช. ร่วมกับ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ขับเคลื่อนโครงการ "การรื้อฟื้นการผลิตกระจกเกรียบและจืนแบบโบราณ เพื่องานบูรณะและอนุรักษ์” จนประสบความสำเร็จหลังทำการวิจัยมาร่วม15ปี


สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม (อว.) เล็งเห็นความสำคัญของวิทยาการด้านมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์โดยเฉพาะการสร้างองค์ความรู้ใหม่จากประสบการณ์และภูมิปัญญาของคนไทยซึ่งเป็นฐานรากที่มั่นคงในการเสริมสร้างการพัฒนาที่ยั่งยืนของประเทศ โดยในปี 2559 วช.อว. ได้สนับสนุนการวิจัย เรื่อง “การพัฒนาแก้วคริสตัลปราศจากตะกั่วและการประดิษฐ์แก้วคริสตัลบาง” ภายใต้แผนงานเทคโนโลยีเพื่ออุตสาหกรรมด้านวัสดุนาโนและนาโนเทคโนโลยี ซึ่งนำโดย รองศาสตราจารย์ ดร.กมลพรรณ เพ็งพัด นักวิจัย สังกัดคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และคณะ และปัจจุบันได้พัฒนางานที่เน้น “การประดิษฐ์แก้วคริสตัลบางเพื่อประยุกต์เป็นกระจกโบราณ” ร่วมกับโรงงานการผลิตกระจกโบราณของ นายรชต ชาญเชี่ยว และคณะ เพื่อพัฒนาสูตรกระจกโบราณใหม่ ๆ เป็นกระจกจืนและกระจกเกรียบ จนสามารถนำกระจกจืนและกระจกเกรียบไปบูรณะโบราณสถานและโบราณวัตถุได้หลายแห่ง อีกทั้งยังสามารถสร้างผลิตภัณฑ์ต้นแบบประดับกระจกจืนและกระจกเกรียบที่สามารถนำไปใช้งานในการบูรณะโบราณสถานและโบราณวัตถุ และสร้างผลิตภัณฑ์ต้นแบบที่ใช้กระจกจืนและกระจกเกรียบตกแต่งเพื่อขยายผลเชิงพาณิชย์ในอนาคตได้อย่างสวยงาม



ในการนี้ วช. ได้ถวายสัตภัณฑ์ที่ประดับกระจกจืน ซึ่งเป็นกระจกที่ได้จากงานวิจัย ณ วัดช่างฆ้อง อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ โดยได้รับความร่วมมือจาก ศิลปิน “ฝุ่น หอสูง” นายชาญยุทธ โตบัณฑิต ออกแบบและสร้างสัตภัณฑ์ ซึ่งเป็นความสำเร็จอย่างเป็นรูปธรรมของการนำผลงานวิจัยจากห้องปฏิบัติการ ที่สามารถต่อยอดทั้งเชิงพาณิชย์และสามารถนำไปทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมของประเทศไทย เพื่อรักษามรดกอันทรงคุณค่าให้คงอยู่เคียงคู่คนไทยสืบไป



สล่า รชต ชาญเชี่ยว ช่างหุงกระจกโบราณ งานสล่าหัตถ์ศิลป์ “กระจกจืนล้านนา” ชุมชนวัดศรีสุพรรณ อ.หางดง จ.เชียงใหม่ กล่าวว่ากระจกโบราณหรือกระจกจืน ได้หายไปนานแล้ว และวันหนึ่งตนเองได้ไปเห็นเศษกระจกตกอยู่ข้างพระธาตุ จึงหยิบขึ้นมาดู จึงเห้นว่ากระจกดังกล่าวมีตัวแก้วกับตัวจืนมีวัสดุแค่สองอย่าง น่าจะทำได้ หลังจากนั้นก็เริ่มศึกษา ค้นคว้า วิจัย ลองทำ เป็นเวลากว่า 15 ปี จนปัจจุบันสามารถทำได้ครบทุกสีซึ่งเป็นสีโบราณ ซึ่งกระจกสามารถตัดด้วยกรรไกร ดัดโค้งงอ ตามแบบโบราณทุกอย่าง สามารถนำไปบูรณะโบราณวัตถุ โบราณสถาน ในเมืองเชียงใหม่ได้หลายจุดแล้ว และปัจจุบันได้ร่วมกับอาจารย์กมลพรรณ เพ็งพัด มาพัฒนากระจกซึ่งเดิมกระจกจะหนา แข็ง ไม่สามารถตัดได้ เมื่อตัดก็จะแตก แต่ปัจจุบันที่อาจารย์กมลพรรณ ได้นำมาพัมนาร่วมกันทำให้กระจกมีความบางจนสามารถนำไปปักบนหน้าหมอนได้ ซึ่งกระจกที่จะนำมาปักได้นั้นจะต้องบางและเรียบมาก ปัจจุบันได้ทำการหุงกระจกที่บ้านของตนเอง ซึ่งจริงๆแล้วที่อยากทำศูนย์ทำกระจกแห่งนี้ก็เพื่ออยากให้ชุมชนมีส่วนร่วม คนรุ่นหลังได้สืบทอดวิชาหุงกระจกที่เป็นของโบราณ ที่สูญหายไปแล้วกว่า100ปี ให้อยู่คู่กับเชียงใหม่และล้านนาสืบต่อไป

Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้