ประธานสภาเกษตรกรฯย้ำ!!! เลี้ยงแพะสามารถสร้างฐานรากที่แข็งแรงให้เกษตรกรได้จริง-ลงทุนน้อย-คืนทุนเร็ว-เลี้ยงง่าย-ขอรัฐบาลสานต่อและสนับสนุน

Last updated: 25 ส.ค. 2564  |  962 จำนวนผู้เข้าชม  | 

ประธานสภาเกษตรกรฯย้ำ!!! เลี้ยงแพะสามารถสร้างฐานรากที่แข็งแรงให้เกษตรกรได้จริง-ลงทุนน้อย-คืนทุนเร็ว-เลี้ยงง่าย-ขอรัฐบาลสานต่อและสนับสนุน


 

 

 

ที่ “ฟาร์มในสวน” แพะ-แกะ ล้านนาเขลางค์นคร ของนายฤทธิพร อยู่สบาย ซึ่งเป็นที่ตั้งกลุ่มวิสาหกิจชุมชนเลี้ยงแพะบ้านทุ่งคาใต้ ตำบลแม่สุก อำเภอแจ้ห่ม จังหวัดลำปาง เป็น1ใน10ของเกษตรกรบ้านทุ่งคาใต้ที่ตัดสินใจเข้าร่วมโครงการ แพะ-แกะ ล้านนาเขลางค์นคร ซึ่ง สภาเกษตรกรจังหวัดลำปางผลักดันให้เกิดขึ้นเมื่อปี 2562 เนื่องจากเกษตรกรในพื้นที่อำเภอแจ้ห่มขณะนั้นประสบปัญหาเรื่องน้ำ ปัญหาภัยแล้ง ฝนทิ้งช่วง และพื้นที่การเกษตรกรส่วนใหญ่อยู่บนที่สูงจึงไม่มีน้ำ และบางส่วนปลูกพืชชนิดอื่นมายาวนานแต่ก็ขาดทุนเนื่องจากต้องใช้ทุนจำนวนมาก สภาเกษตรกรจึงผลักดันให้เกษตรกรที่สนใจรวมกลุ่มตั้งเป็นวิสาหกิจชุมชน และหันมาเลี้ยงแพะเป็นสัตว์เศรษฐกิจตัวใหม่ เพราะแพะลงทุนน้อย ผลตอบแทนไว และเลี้ยงง่าย ซึ่งบ้านทุ่งคาใต้มีเกษตรกรเข้าร่วมกลุ่ม10 คน รวม10ฟาร์ม ได้รับการสนับสนุนเงินทุนก้อนแรกจากโครงการเงินกู้ยืมกองทุนสงเคราะห์เกษตรกร รายละสองแสนบาท โดยได้แพะแม่พันธุ์20ตัว พ่อพันธุ์1ตัว และโรงเรือนแพะ ส่งเงินกู้คืนในปีที่สาม


โดยนายฤทธิพร บอกว่า กลุ่มของตนเองเริ่มต้นจากศูนย์คือไม่รู้เรื่องแพะเลย แต่อยากทดลอง โดยมีหน่วยงานทั้งสภาเกษตรกรจังหวัดลำปาง ปศุสัตว์ เข้ามาให้ความรู้ตลอด ทุกวันนี้สามารถรักษาแพะ ดูอาการแพะ เจาะเลือดแพะตรวจได้เองทั้งหมด และที่ดีใจมากคือ วันนี้ย่างเข้าปีที่สอง ฟาร์มของตนเองและกลุ่มสามารถผ่านการรับรองสถานภาพฟาร์มปลอดโรคบรูเซลลาในแพะเนื้อ ระดับ A ได้แล้ว ซึ่งทำให้การขายแพะในกลุ่มของตนเองสามารถขายได้ทั้งในและต่างประเทศ และที่สำคัญคือขายได้ราคาดี เกษตรกรสามารถตั้งราคาเองได้ ขณะนี้ตนเองสามารถขายแพะไปได้แล้วเกือบ 70,000 บาท ขณะที่มีแพะเพิ่มขึ้นมาเกือบ60ตัว ตั้งท้องอีกกว่า10ตัว ซึ่งถือว่าสามารถคืนทุนที่กู้ยืมมาได้แล้ว ตนเองวางแผนจะเลี้ยงแม่พันธุ์ให้ได้100ตัว และจะขยายเพิ่มอีก2ฟาร์ม ในส่วนของกลุ่ม นอกจากจะเลี้ยงขายพ่อพันธุ์-แม่พันธุ์ ขนะนี้ยังนำมูลแพะหรือขี้แพะ มาทำเป็นปุ๋ยบดละเอียด 100% ออกจำหน่ายเพื่อสร้างรายได้เพิ่มให้กลุ่มด้วย และได้วางแผนเพื่อเปิดเป็นแหล่งท่องเที่ยวทงธรรมชาติแห่งใหม่ของอำเภอแจ้ห่มอีกด้วย


นายประพัฒน์ ปัญญาชาติรักษ์ ประธานสภาเกษตรกร จว.ลำปาง เปิดเผยระหว่างเข้าไปเยี่ยมเยือนและดูความคืบหน้าของการเลี้ยงแพะของฟาร์มในสวนว่า ฟาร์มแห่งนี้เป้น1ใน10ฟาร์มที่สภาเกษตรกรจังหวัดลำปางเข้าไปส่งเสริม โดยใช้งเินจากดครงการสงเคราะห์เกษตรกรครัวเรือนละสองแสนบาท โดยได้แม่พันธุ์ 20 ตัว พ่อพันธุ์ 1 ตัว และโรงเรือน จะเห็นว่าสามารถสร้างเศรษฐกิจใหม่ให้กับพื้นที่ได้ โดยเฉพาะพื้นที่แล้งน้ำ พื้นที่อำเภอแจ้ห่มส่วนใหญ่เป็นพื้นที่แล้งน้ำ ป่าเขาเป็นป่าแพะ ป่าเต็งรัง ไม่มีน้ำ ตลอด40-50ปีที่ผ่านมาจะเห็นว่าทางราชการเข้ามาส่งเสริมการปลูกพืชแต่ไม่เคยประสบความสำเร็จ เกษตรกรมีแต่หนี้สินและมีแต่จะเพิ่มมากขึ้นเอาตัวไม่รอด ทางสภาเกษตรกรจึงพยายามค้นหาสัตว์เศรษฐกิจเพื่อนำมาผลักดันให้เกษตรกรเลี้ยง ซึ่งบ้านทุ่งคาใต้มีเกษตรกรที่รวมกลุ่มกันเลี้ยง10ราย ดีมาก อย่างฟาร์มในสวนแห่งนี้ จากที่ได้ทุนคือแม่พันธุ์20ตัว ขณะนี้ขยายพันธุ์ได้แล้วถึง60ตัว และกำลังตั้งท้องอีก12ตัว และที่สำคัญคือที่ผ่านมาได้ขายผลิตผลคือพ่อพันธุ์-แม่พันธุ์แพะไปได้แล้วเกือบเจ็ดหมื่นบาท ฉะนั้นยืนยันได้ว่าแพะ-แกะ เป็นสัตว์เศรษฐกิจที่เหมาะสมมาก สำหรับพื้นที่แล้งน้ำ เพราะอาหารที่อยู่ในพื้นที่สามารถเป็นอาหารแพะ-แกะ ได้ทั้งหมด ไม่ต้องซื้ออาหาร มีเพียงบางช่วงที่แพะท้องก็อาจจะเสริมก้อนธาตุให้แพะเลียเพื่อเสริมอาหารที่ขาด ที่สำคัญคือหากโครงการนี้เดินหน้าต่อไป ทั้งข้าราชการ รัฐบาลเห็นความสำคัญ และส่งเสริมสนับสนุนต่อจะสามารถสร้างฐานรากที่ยั่งยืนให้กับเกษตรกรได้มาก และที่สำคัญคือเป็นปัจจัยสำคัญคือลดหมอกควันได้อย่างมีนัยยะสำคัญ เพราะแพะ-แกะ สามารถกินใบไม้ทุกชนิดในป่าได้ซึ่งใบไม้แห้งในป่าเป้ฯสาเหตุหลักของการเกิดไฟไหม้และหมอกควันทุกปี  และย้ำว่าขณะนี้ฟาร์มที่นี่ได้รับการรับรองเป็นฟาร์มมาตรฐาน คือปลอดโรคบลูเซซลาระดับAนั่นคือแพะที่นี่ไม่มีโรค เกษตรกรที่ต้องการหาซื้อพ่อพันธุ์แม่พันธุ์สามารถมาเลือกซื้อตัวสวยๆได้ คาดหวังว่าในอีก3-5ปี จังหวัดลำปางน่าจะมีประชากรแพะนับหมื่นตัว นั่หมายความว่าจะสามารถสร้างฐานรากให้กับเกษตรและเป็นทางเลือกซึ่งในอนาคตจะเป็นทางหลักได้


“การเลี้ยงแพะเป็นการลงทุนที่คุ้มค่ามาก ปัจจุบันซื้อขายกัน แพะขุน แพะเนื้อ ราคากิโลกรัมละ 120 บาท อดอาหาร1วัน ถือว่าราคาดีมากและราคาไม่เคยตก หากเป็นพ่อพันธุ์-แม่พันธุ์ที่สวยๆงามๆสามารถขายได้ถึงตัวละ1-3หมื่นบาท อยากเชิญชวนเกษตรกรที่อยากหาทางออกให้กับชีวิตตัวเอง หรือมีที่อยู่แล้วพอมีทุนอยู่บ้าง สามารถมาศึกษา เรียนรู้ได้ สภาเกษตรกรจังหวัดลำปาง พร้อมเป็นพี่เลี้ยงให้และให้เกษตรกรตัวจริงที่เลี้ยงแพะจริงๆมาเป็นวิทยากรช่วยถ่ายทอดองค์ความรู้ให้ โดยสอบถามได้ที่สภาเกษตรกรจังหวัดลำปาง ตั้งอยู่ชั้น3 ศาลากลางจังหวัดลำปาง”

เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง

Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้