เร่งปรับขาเทียมให้ช้าง2เชือกแรกของโลก-หยุดใช้ขาเทียมช่วงโควิดไปกว่า2ปี-ขาเริ่มบวม-เล็บเท้าแตก-กระดูกสันหลังโก่ง

Last updated: 21 มี.ค. 2565  |  656 จำนวนผู้เข้าชม  | 

เร่งปรับขาเทียมให้ช้าง2เชือกแรกของโลก-หยุดใช้ขาเทียมช่วงโควิดไปกว่า2ปี-ขาเริ่มบวม-เล็บเท้าแตก-กระดูกสันหลังโก่ง

มูลนิธิเพื่อนช้างเร่งปรับขาเทียมให้พังโม่ชะและพังโม่ตาลาช้าง2เชือกแรกของโลกที่ได้ใส่ขาเทียมหลังทีมแพทย์ไม่สามารถเดินทงมาปรับขนาดตามความเปลี่ยนแปลงของสภาพร่างกายของช้างที่เตอบโตขึ้นได้ในช่วง2ปีที่เกิดสถานการณ์โควิดส่งผลให้พังโม่ชะกระดูกสันหลังโก่ง




วันนี้ที่มูลนิธิเพื่อนช้าง อำเภอห้างฉัตร จังหวัดลำปาง รศ.นพ.เทอดชัย ชีวะเกตุ  อดีตเลขาธิการมูลนิธิขาเทียม ในสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชชนนี พร้อมคณะได้เดินทางมาตรวจสอบสภาพขาเทียมซึ่งได้ทำให้กับพังโม่ชะ อายุ 16 ปี และ พังโม่ตาลา อายุ 61 ปี ซึ่งเหยียบกับระเบิดบริเวณชายแดนฝั่งประเทศพม่า จ.ตาก เจ้าของได้นำส่งมารักษาที่มูลนิธิเพื่อนช้าง เมื่อปี 2542 (พังโม่ตาลา) และ 2549(พังโม่ชะ)  ทางมูลนิธิฯได้ช่วยรักษาจนสุดท้ายพังโม่ชะซึ่งได้รับบาดเจ็บเท้าหน้าขวาต้องถูกตัดตั้งแต่ใต้เข่าลงมาทิ้ง ส่วนพังโม่ตาลา ได้รับบาดเจ็บที่เท้าหน้าซ้าย ฝ่าเท้าขากรุ่งริ่งไม่สามารถเหยียบพื้นได้ และเจ้าของช้างไม่สามารถเลี้ยงดูช้างได้จึงมอบให้อยู่ในการดูแลของมูลนิธิจนถึงปัจจุบัน

หลังจากการรักษาบาดแผลหายสนิท ทำให้ช้างทั้งสองเชือกมีปัญหาด้านการทรงตัว การเดิน การรับน้ำหนัก เพราะใช้ขาได้เพียง 3 ขาเท่านั้นในการพยุงตัวเอง ทำให้เท้าหน้าข้างที่เหลือซึ่งรับน้ำหนักมากขึ้นเรื่อยๆเริ่มมีปัญหาโค้งงอผิดรูป และกระดูกสันหลังเริ่มโก่งงอเนื่องจากเสียการทรงตัว

ระหว่างการรักษา พังโม่ตาลา  คุณโซไรดา ซาลวาลา เลขาธิการมูลนิธิเพื่อนช้างและ น.สพ.ปรีชา พวงคำ ประชุมปรึกษาเพื่อตั้งคณะทำงานในการรักษาพังโม่ตาลา วันที่ 22 สิงหาคม 2542 รศ.น.พ.ทอดชัย ชีวะเกตุ จากคณะแพทย์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ (เลขาธิการมูลนิธิขาเทียม ในสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี) ได้เดินทางมาพบเลขาธิการมูลนิธิเพื่อนช้าง เพื่อแสดงความประสงค์ช่วยเหลือ เลขาธิการมูลนิธิเพื่อนช้างจึงทำหนังสือเรียนเชิญท่านและ น.พ.อร่าม พงศ์เชี่ยวบุญ จากคณะแพทย์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ มาเป็นคณะทำงานในการรักษา หากผลการผ่าตัดเป็นผลสำเร็จ และควบคุมการติดเชื้อในกระแสเลือดได้ ก็จะทำการทำขาเทียมใส่ให้โม่ตาลา

ตลอคระยะเวลารักษาสิบกว่าปี ที่พังโม่ตาลาอยู่ในความดูแลของมูลนิธิเพื่อนช้าง โม่ตาลามีสุขภาพแข็งแรง กินอาหารและน้ำได้ดี ระบบขับถ่ายเป็นปกติ บาดแผลผ่าตัดเกือบหายสนิท แต่แผลพัง โม่ตาลาหายค่อนข้างช้า ขณะที่แผลของช้างน้อยโม่ชะหายดี ทาง รศ.นพ.เทอดชัย จึงทำขาเทียมให้ “พังโม่ชะ" ก่อน จึงเป็นช้างเชือกแรกของโลกที่ได้ใส่ขาเทียม ในปี 2551

ต่อมาเมื่อแผลพังโม่ตาลาหายดี จึงได้ทำขาเทียมสวมใส่ให้กับพังโม่ตาลา เป็ฯช้างเชือกที่2ของโลกที่ใส่ข่เทียม ในปี 2552

 

หลังจากใส่ขาเทียมไปแล้วก็ได้มีการปรับเปลี่ยนขนาดไปตามความเจิรญเติบโตของช้าง ซึ่งที่ผ่่านมาพังโม่ชะเปลี่ยนขาเทียมไปแล้ว 12 อัน อันนี้เป็นอันที่13 ส่วนพังโม่ตาลา เปลี่ยนมาแล้ว8อัน อันนี้เป็นอันที่ 9 และในช่วงโควิดสองปีกว่าที่ผ่านมาทางทีมงานไม่สามารถเดินทงมาตรวจและปรับขนาดได้จึงทำให้ช้างไม่ได้ใช้ขาเทียม ซึ่งก็พบว่าพังโม่ชะเริ่มมีอาการกระดูกสันหลังโค้งโก่งงอมากขึ้นเนื่องจากขารับน้ำหนักได้เพียง 3ขาและต้องนอนบ่อย


ซึ่งในวันนี้ คุณโซไรดา ซาลวาลา เลขาธิการมูลนิธิเพื่อนช้าง ได้กล่าวว่า ที่ผ่านมาต้องเอาขาเทียมออกเพราะช้างสวมไม่ถนัดทำเพราะขาเทียมไม่ได้ขนาดจึงทำให้ช้างเริ่มมีอาการกระดูกสันหลังโกงงอเพิ่มขึ้น ซึ่งวันนี้ทีมรศ.นพ.เทอดชัย ได้มีตรวจสอบขาเทียมและจะทำการแก้ไขให้สวมใส่ได้โดยไม่ต้องทำรูปใหม่ซึ่งก็จะเร็วขึ้น ซึ่งจะสังเกตุว่าพังโม่ชะหลังจากที่ไม่ได้ใส่ขาเทียมน้ำหนักมาลงเพียงขาเดียวทำให้ขาเริ่มบวมและเล็บแตก ส่วนพังโม่ชะก็เช่นกันเริ่มขาบวมและการโก่งงอของสันหลังเพิ่มขึ้น หากไม่รีบให้ใส่ขาเทียมโดยเร็วโอกาสที่จะเดินไม่ได้ในอนาคนมีสูง

รศ.นพ.เทอดชัย ได้กล่าวว่า จากการตรวจสอบขาเทียมที่ช้างสวมใส่ต้องมีการกรับแก้บางส่วนคือ พังโม่ชะ จะต้องเพิ่มขนาดบางจุดเพราะขาของช้างขนาดใหญ่ขึ้น ส่วนกระดูกสันหลังที่โกงงอ หากมีการใช้ขาเทียมไปตลอดก็จะช่วยพยุงน้ำหนักได้และด้วยพังโม่ชะเจริญเต็มที่แล้วก็จะทำให้กระดูกไม่โก่งงอไปมากกว่านี้แล้ว ส่วนพังโม่ตาลาอาจจะต้องมีการลดระดับความสูงลงมาเพราะจากการสังเกตุเวลาเดินเทา้ช้างจะแบะออกด้านข้างไม่สามรถยืนตรงได้เนื่องจากขาเทียมสูงกว่าเท้าปกติอีกข้างซึ่งก็แก้ไขไม่อยากและจะใช้เวลาเร็วกว่าการขึ้นรูปใหม่


Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้