ปลัด วธ. เปิดงานสลุงหลวง กลองใหญ่ ปี๋ใหม่เมืองนครลำปาง ประชาชนร่วมคึกคัก-เผยเป็นประเพณีที่มีอัตลักษณ์ไม่เหมือนใคร-เตรียมบรรจุในปฏิทินท่องเที่ยว

Last updated: 12 เม.ย 2565  |  669 จำนวนผู้เข้าชม  | 

ปลัด วธ. เปิดงานสลุงหลวง กลองใหญ่ ปี๋ใหม่เมืองนครลำปาง ประชาชนร่วมคึกคัก-เผยเป็นประเพณีที่มีอัตลักษณ์ไม่เหมือนใคร-เตรียมบรรจุในปฏิทินท่องเที่ยว

วธ. รวมใจชาวลำปางเปิด “งานสลุงหลวง กลองใหญ่ ปีใหม่เมือง นครลำปาง ประจำปี 2565”  พร้อมยกย่องเป็น 1 ใน 10 งานเทศกาล ประเพณีที่มีความโดดเด่น ส่งเสริมและยกระดับงานเทศกาลประเพณีของแต่ละท้องถิ่นให้เป็นที่รู้จักแพร่หลายไปสู่ระดับชาติและนานาชาติ  สร้างรายได้และภาพลักษณ์ที่ดีให้แก่ประเทศ ส่วนของลำปางพร้อมชูเข้าสู่ปฏิทินท่องเที่ยวต่อไป


บ่ายวันนี้ (12 เมษายน 2565) ที่บริเวณลานหน้าวัดปงสนุก ตำบลเวียงเหนือ อำเภอเมือง จังหวัดลำปาง นางยุพา ทวีวัฒนะกิจบวร ปลัดกระทรวงวัฒนธรรม ได้เป็นประธานเปิด “งานสลุงหลวง กลองใหญ่ ปีใหม่เมือง นครลำปาง ประจำปี 2565”  โดยมีนายสิธิชัย จินดาหลวง ผู้ว่าราชการจังหวัดลำปาง  นางลัษมา ธารีเกษ วัฒนธรรมจังหวัดลำปาง  นางสาวตวงรัตน์  โล่สุนทร นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัด ดร.นิมิตร จิวะสันติการ นายกเทศมนตรีนครลำปาง  ผู้แทนหัวหน้าส่วนราชการ ภาครัฐ  เข้าร่วมงานจำนวนมาก 

โดยภายในงานได้มีการจัดตกแต่งสถานที่เป็นแบบล้านนา มีพิธีอัญเชิญน้ำศักดิ์สิทธิ์มาจากทั้ง 13 อำเภอของจังหวัดลำปาง และจังหวัดใกล้เคียงที่นำมาร่วมในการทำเป็นน้ำทิพย์ น้ำขมิ้นส้มป่อยไว้ในสลุงหลวง ซ่ึงเป็นสลุงเงินในใหญ่ที่สุดในล้านนา โดยมีเทพบุตรสลุงหลวงและรองทั้ง4คน ร่วมเป็นผู้รับน้ำศักดิ์สิทธิ์และน้ำขมิ้นส้มป่อยจากประชาชนใส่ไว้ในสลุง เพื่อน้ำไปสรงน้ำพระแก้วมรกตดอนเต้า ซึ่งเทพบุตรสลุงหลวงและรองทั้ง4ก่อนที่จะมาเป็นผู้อารักขาสลุงและรับน้ำศักดิ์สิทธิ์จะต้องเข้าพิธีสวดตามประเพณีก่อน



 

จากนั้นปลัดกระทรวง วธ.ได้ตีเม่งม่าง เพื่อเป็นสัญลักษณ์ในการนเปิดงานและปล่อยขบวนแห่งานบุญสลุงหลวง ซึ่งมีผู้ว่าราชกรจังหวัดพร้อมด้วยหัวหน้าส่วนราชการต่างเดินนำหน้าขบวน  ออกจาก วัดปงสนุก เข้าสู่ถนนทิพย์ช้าง มุ่งตรงไปยังมณฑลพิธีที่ประดิษฐานพระเจ้าแก้วมรกตดอนเต้า ณ ข่วงนคร ห้าแยกหอนาฬิกา โดยตลอดเส้นทางจะมีประชาชนน้ำน้ำขมิ้นส้มป่อยมาร่วมใส่ในสลุงหลวง

เมื่อไปถึงบริเวณข่วงนคร ปลัดกระทรวงวัฒนธรรมได้ร่วมทรงน้ำพระเจ้าแก้วมรกตดอนเต้า และร่วมปักเจดีย์ทรายและร่วมกิจกรรม ณ ข่วงแก้วเวียงละกอน ซึ่งเป็นหนึ่งในกิจกรรมที่จัดขึ้นในปีนี้ ซึ่งจัดขึ้นตั้งแต่วันที่ 11-16 เม.ย.65

ปลัดกระทรวงวัฒนธรรม กล่าวว่า “งานสลุงหลวง กลองใหญ่ ปีใหม่เมืองนครลำปาง” ประจำปี 2565  ถือเป็นการบูรณาการการจัดงานในหลายภาคส่วน  ถือเป็นการรวมพลังความร่วมมือ  ร่วมแรง  ร่วมใจ  ของทุกภาคส่วนที่จะได้นำอัตลักษณ์อันโดดเด่นทางด้านวัฒนธรรมของจังหวัดลำปาง ไม่ว่าจะเป็นวัฒนธรรมประเพณี ศิลปะการแสดง สินค้าทางวัฒนธรรม ความหลายหลากของภูมิปัญญา มาเผยแพร่ มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ก่อให้เกิดความเข้าใจ ภาคภูมิใจในมรดกทางวัฒนธรรมที่ทรงคุณค่า อันเป็นทุนทางวัฒนธรรมมาพัฒนา ประชาสัมพันธ์จังหวัดลำปางให้เป็นที่รู้จักมากยิ่งขึ้น ซึ่งสอดคล้องกับนโยบายของกระทรวงวัฒนธรรมที่มุ่งขับเคลื่อนการสร้างขีดความสามารถในการแข่งขันและโมเดลเศรษฐกิจใหม่ BCG ของรัฐบาล รวมทั้งผลักดัน “Soft Power” ความเป็นไทย เพิ่มมูลค่าเศรษฐกิจสร้างสรรค์ สร้างรายได้และภาพลักษณ์ที่ดีให้แก่ประเทศอย่างยั่งยืน โดยขับเคลื่อนงานเทศกาลประเพณีสู่ระดับโลก (Festival)

“ในปีนี้ กระทรวงวัฒนธรรมได้คัดเลือกงานเทศกาล ประเพณีที่มีความโดดเด่น ส่งเสริมและยกระดับงานเทศกาลประเพณีของแต่ละท้องถิ่นให้เป็นที่รู้จักแพร่หลายไปสู่ระดับชาติและนานาชาติ โดย “งานสลุงหลวง กลองใหญ่ ปีใหม่เมืองนครลำปาง” ได้รับการคัดเลือกเป็น 1 ใน 16 งานเทศกาลประเพณี ที่ได้รับการคัดเลือกสนับสนุนอย่างเต็มที่ อีกทั้งการจัดงานดังกล่าวยังสอดคล้องกับ รัฐบาล โดยกระทรวงวัฒนธรรม ได้รณรงค์ให้แต่ละภาคส่วนจัดงานภายใต้แนวความคิด “สงกรานต์วิถีใหม่ สืบสานวัฒนธรรมไทย ” ซึ่งจังหวัดลำปาง ได้จัดขึ้นในรูปแบบของการจัดงานประเพณีวิถีใหม่ จังหวัดลำปาง จึงได้เชิญชวนทุกท่านที่มาร่วมงานแต่งกายด้วยผ้าไทย หรือผ้าพื้นเมืองแล้ว ยังได้ดำเนินการตามมาตรการควบคุมและป้องกันการแพร่ระบาดของติดเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 อย่างเคร่งครัดตลอดการจัดงานด้วย

ปลัด วธ. กล่าวเพิ่มเติมว่า สำหรับประเพณีของจังหวัดลำปางแม้ว่าจะเป็นประเพณีท้องถิ่นแต่ก้ถือว่ามีอัตลักาณ์และมีมนเสน่ห์และมีการดึงคนในพื้นที่และต่างถิ่นเข้ามามีส่วนร่วม ซึ่งก็สอดคล้องกับนโยบายของกระทรวงที่ว่าต้องสร้างการมีส่วนร่วมของคนในพื้นที่ จึงควรจะต้องพัฒนาต่อยอดออกไป และหวังเป็นอย่างยิ่งว่าหากประเทศเปิดเต็มที่แล้ว ประเพณีดีดีของลำปางจะต้องได้รับการขึ้นเป็นหนึ่งในประเพณีที่จะบรรจุในปฏิทินท่องเที่ยวของประเทศไทยในอนาคต   

เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง

Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้