ม.เกษตร จับมือ สภาเกษตรกรฯ นำงานวิจัยไผ่ออกจากรั้วมหาวิทยาลัย-ต่อยอดสร้างประโยชน์สู่ชุมชน-สังคม-ประเทศชาติ-อยากเห็นลำปางเป็นเมืองไผ่-พร้อมนำร่องยกระดับมูลค่าไผ่-เพิ่มผลิตภัณฑ์ให้หลากหลาย

Last updated: 19 ก.ย. 2565  |  820 จำนวนผู้เข้าชม  | 

ม.เกษตร จับมือ สภาเกษตรกรฯ นำงานวิจัยไผ่ออกจากรั้วมหาวิทยาลัย-ต่อยอดสร้างประโยชน์สู่ชุมชน-สังคม-ประเทศชาติ-อยากเห็นลำปางเป็นเมืองไผ่-พร้อมนำร่องยกระดับมูลค่าไผ่-เพิ่มผลิตภัณฑ์ให้หลากหลาย

อธิการบดี มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์นำคณะดูงานไผ่ฟาร์มเกษตรอินทรีย์เพชรล้านนาหารือสภาเกษตรกรจังหวัดลำปาง สภาเกาตรกรแห่งชาติ พัฒนาไผ่เป็นพืชเศรษฐกิจใหม่ พร้อมนำผลงานวิจัยมาช่อยต่อยอดไผ่สู่การค้าที่กว้างขวางมากขึ้น 

(18 ก.ย.) ที่วิสาหกิจชุมชนฟาร์มเกษตรอินทรีย์เพชรล้านนา ตำบลแม่สุก อำเภอแจ้ห่ม จังหวัดลำปาง ดร.จงรัก วัชรินทร์รัตน์ อธิการบดี มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ พร้อมคณะ ได้เดินทางมาศึกษาดูงานการปลูกไผ่ซางหม่น และขบวนการผลิตไผ่สู่การค้า  โดยมีนายประพัฒน์ ปัญญาชาติรักษ์ ประธานสภาเกษตรกรแห่งชาติ ประธานสภาเกษตรกรจังหวัดลำปาง และ เจ้าของฟาร์มฯ และเจ้าหน้าที่ของฟาร์มคอยให้ข้อมูล พร้อมนำชมไผ่แต่ละชนิดที่มีการปลูกไว้ภายในฟาร์มโดยเฉพาะไผ่ซางหม่น ขบวนการแช่น้ำยากันมอด การนำเศษไผ่มาทำถ่าน ก่อนที่จะมีการหารือเกี่ยวกับการจับมือกันของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์กับสภาเกษตรกรจังหวัดลำปาง สภาเกษตรกรแห่งชาติ ในการต่อยอดไผ่พืชเศรษฐกิจให้มีมูลค่าทางด้านเศรษฐกิจในหลายด้านโดยการนำงานวิจัยของมหาวิทยาลัยมาสนับสนุนต่อยอดให้ไผ่เป็นพืชเศรษฐกิจตัวใหม่


ดร.จงรัก วัชรินทร์รัตน์ อธิการบดี มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กล่าวว่า ไผ่ถือเป็นพืชเศรษฐกิจและมีมูลค่าทางเศรษฐกิจ และเป็นพืชอเนกประสงค์ มีประโยชน์หลายด้านทั้งนำมารับประทานเป็นอาหาร ทำเเครื่องใช้ เฟอร์นิเจอร์ เครื่องสำอางค์ เชื้อเพลิงแม้แต่จะทำเป็นเสื้อผ้าต่อไปจึงได้มาร่วมกับวิสาหกิจชุมชนเพชรล้านนาเพื่อต่อยอดไผ่ ซึ่งในพื้นที่ขณะนี้นเน้นไผ่ซางหม่นซึ่งเป็นไผ่พันธุ์พื้นเมือง ซึ่งก็จะมีการคัดเลือกสายพันธุ์ที่เหมาะสมมากขึ้น หาวิธีที่จะทำให้ลำตรง จัดการง่ายขึ้น ลำใหญ่ขึ้น ซึ่งยังสามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้อีกมากเพราะไผ่เป็นพืชระยะสั้นโตเร็ว จึงจะมาเน้นในการต่อยอดเพื่อให้งานได้ระยะยาวๆ ซึ่งปัญหาของไผ่คือหากจัดการไม่ดีก็จะมีปัญหามอดมาเจาะ มีราขึ้นก็จะทำให้การใช้งานสั้น รวมถึงการนำมาทำเชื้อเพลิงไผ่มีรูพรุนมากเมื่อนำมาทำถ่านก็จะทำให้ได้ถ่านคุณภาพสูง นอกจากใช้เป็ฯถ่านปกติก็จะสามารถทำเป็นไส้ของเครื่องกรองน้ำ ชา ยาแก้โรคกระเพาะ แก้ท้องอืดท้องเฟ้อ และด้วยที่พื้นที่อำเภอแจ้ห่มขณะนี้มีการปลูกไผ่มากกว่าสองพันไร่ก็จะสามารถต่อยอดให้พื้นที่แห่งนี้เป็นเมืองไผ่ เพื่อให้เป็นแหล่งเรียนรู้ดูงานเรื่องไผ่ ซึ่งตนเองคิดว่าคนไทยต้องมีความรู้เรื่องไผ่ เพราะเป็นการใช้ประโยชน์ระยะสั้นและมีส่วนสัมพันธ์ตั้งแต่เกิดถึงตาย ไผ่สามารถใช้ได้ทุกขบวนการ

โดยด่านแรกจะทำให้ไผ่ใช้ประโยชน์ได้ยาวๆ การเก็บรักษา และการยกระดับการใช้ประโยชน์พื้นฐานเป็นการแปรรูปขั้นสูง เช่นการทำเป็นฟอร์ริ่ง พื้น และเรื่องการทำถ่านคุณภาพซึ่งอาจจะต้องใช้ไผ่เป็นวัตถุดิบและการนำไปแปรรูปเป็นอาหาร โดยนำความรู้และผลงานวิจัยของมหาวิทยาลัยสู่ชุมชน สังคม และประเทศได้อย่างแท้จริง


ทางด้านนายประพัฒน์ ปัญญาชาติรักษ์ ประธานสภาเกษตรกรแห่งชาติ ประธานสภาเกษตรกรจังหวัดลำปาง ได้กล่าวว่า ขณะนี้ในพื้นที่ที่มีการปลูกจริงๆน่าจะเกินหมื่นไร่แล้ว โดยเฉพาะตำบลแม่สุกมีการปลูกไผ่รวกส่งออกไปขายแต่ละปีจำนวนมากโดยเฉพาะส่งไปยังภาคใต้ชายทะเลเพื่อนำไปปักเลี้ยงหอยและกันการกัดเซาะชายฝัง ซึ่งอีกความฝันคือไผ่ซางหม่นและไผ่ชนิดอื่นๆที่ยังสามารถพัฒนาและต่อยอดได้ และวันนี้ถือเป็นความฝันของเกษตรกรที่อยากเห็นการเปลี่ยนจากการปลูกข้าวโพดมาเป็นกาารลูกไผ่ ซึ่งสร้างมลภาวะมากมาย ซึ่งการที่จะหาพืชเศรฐกิจที่ได้ทั้งสิ่งแวดล้อม ได้ทั้งเศรษฐกิจ ชุมชนระดับชาติ และวันนี้หลังจากที่ทางมหาวิทยาลัยฯได้มาดูก็ฝันว่าจะสามารถวิจัย ต่อยอด สรา้งเศรษฐกิจจากไผ่ให้มีความหลากหลายมากขึ้น ซึ่งเชื่อว่าวิชาการต้องนำการผลิต ซึ่งหากยังปลูกแบบวิถีดั้งเดิมก็อาจจะไปไม่รอดและคาดหวังว่าในอนาคตลำปางจะมีพื้นที่สีเขียวจากไผ่เป็นพื้นที่ใหญ่ และเศรษฐกิจของลำปางก็จะดีขึ้นจากไผ่ 

เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง

Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้