ผู้ใหญ่บ้านห้วยคิงนำลูกบ้านกว่า200คนทวงถามความคืบหน้าการอพยพหลังรอมา11ปียังไม่ยุติ รอกฤษฎีกาตีความการจ่ายเงินเวนคืนพื้นที่บุกรุกใหม่ซ้ำซ้อนหรือไม่

Last updated: 11 ก.พ. 2563  |  1059 จำนวนผู้เข้าชม  | 

ผู้ใหญ่บ้านห้วยคิงนำลูกบ้านกว่า200คนทวงถามความคืบหน้าการอพยพหลังรอมา11ปียังไม่ยุติ รอกฤษฎีกาตีความการจ่ายเงินเวนคืนพื้นที่บุกรุกใหม่ซ้ำซ้อนหรือไม่

วันนี้ ที่ห้องประชุม ที่ว่าการอำเภอแม่เมาะ จังหวัดลำปาง นางแสงจันทร์ มูลซาว ผู้ใหญ่บ้านห้วยคิง ตำบลแม่เมาะ อำเภอแม่เมาะ จังหวัดลำปาง พร้อมด้วยลูกบ้านซึ่งเป็นราษฎรหมู่6 บ้านห้วยคิง จำนวนกว่า200 คน ได้มาติดตามสอบถามความคืบหน้าของการอพยพชาวบ้านออกจากพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบจากการก่อสร้างโรงไฟฟ้าแม่เมาะ ไปอยู่ที่แห่งใหม่ ที่ กฟผ.จัดพื้นที่ให้ คือบ้านเมะหลวง ม.8 ตำบลแม่เมาะ อำเภอแม่เมาะ ซึ่งล่าสุดมติจากคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 15 ตุลาคม 2562 ให้ กฟผ.อพยพราษฎร์หมู่6ห้วยคิง ออกจากพื้นที่ แต่จนถึงขณะนี้ยังไม่สามารถอพยพราษฎร์เข้าไปอยู่ในพื้นที่ได้เนื่องจากพื้นที่ดังกล่าวถูกชาวบ้านที่อพยพไปอยู่ก่อนหน้านั้นบุกรุกยึดครองทำการเกษตรและอื่นๆยังไม่ยอมออกและได้เรียกร้องให้จ่ายค่าเวนคืน ทำให้หน่วยงานภาครัฐไม่สามารถเข้าปรับพื้นที่ใดๆได้

ชมคลิป https://www.youtube.com/watch?v=y_6qygQQ8rQ&feature=youtu.be


นายนิมิตร ผดุงศิลป์ไพโรจน์ นายอำเภอแม่เมาะ ได้ชี้แจงถึงความล่าช้าว่าขณะนี้ติดที่คณะกรรมการฯคือกรมป่าไม้ติงเรื่องของการจ่ายเงินชดเชยให้กับผู้ที่บุกรุกพื้นที่ว่าไม่สามารถจ่ายได้เพราะจะเป็นการจ่ายเงินซ้ำซ้อนให้กับบุคคลที่เคยได้รับการเยียวยาไปแล้ว จึงทำให้ต้องมีการส่งความเห็นทั้งของฝ่ายกฎหมายของ กฟผ.ที่เห็นว่าจ่ายได้เพราะพื้นที่ที่ชาวบ้านทั้ง63รายอาศัยอยู่ในขขณะนี้ไม่ใช่พื้นที่เดิมที่อพยพและได้รับการเยียวยามาก่อนนี้ จึงไม่เรียกว่าเป็นการบุกรุกพื้นที่เดิม จึงสามารถจ่ายเงินชดเชยได้ และอ้างถึงกฤษฎีกาก่อนหน้านั้นที่ระบุว่าเพื่อมนุยธรรมและเป็นค่าที่ชาวบ้านเสียสละที่อยู่ที่ทำกิน จึงไม่มีข้อใดที่ต้องพิจารณาด้านกฎหมายอีก แต่ให้ดำเนินการตามความเห็นของคณะกรรมการของหน่วยงายอื่นๆ ดังนั้นจึงจำเป็นต้องส่งข้อหารือในประเด็นนี้ให้กับกฤษฎีกาชี้ขาดว่าการจ่ายเงินในลักษณะนี้ถือว่าซ้ำซ้อนหรือไม่ หากกฤษฎีการะบุว่าไม่ซ้ำซ้อนก็จะสามารถจ่ายเงินค่าเวนคืนให้กับชาวบ้านรวม63ราย ที่เข้าไปบุกรุกพื้นที่และครอบครองอยู่ในขณะนี้ได้ทันที 

นายอำเภอแม่เมาะระบุด้วยว่าส่วนตัวแล้วตนเองเห็นด้วยกับฝ่ายกฎหมายของ กฟผ. เห็นว่าควรจ่ายเงินชดเชยให้กับชาวบ้านทั้ง63ราย ที่ยึดถือครอบครองทำมาหากินอยู่ในปัจจุบันให้ออกจากพื้นที่ เพราะถือว่าพื้นที่นี้ไม่ใช่พื้นที่เดิมที่เคยได้รับการเยียวยามาก่อน

ทางด้านนายวิวัฒน์ ปินตา แกนนำชาวบ้าน ได้กล่าวว่าก่อนหน้านั้นกฤษฎีกาก็ระบุแล้วว่าเพื่อมนุษยธรรม ดังนั้นตนเองเชื่อมั่นว่าแม้คณะกรรมการฯจะส่งเรื่องข้อความเห้ฯจากกฤษฎีกากี่รอบก็คงได้คอตอบเดียวคือเพื่อมนุษยธรรม แต่ตนเองอยากทราบว่าแล้วกฤษฎีกาจะตีความออกมาเมื่อไหร่ และ จนท.จะสามารถเข้าดำเนินงานในพื้นที่อพยพได้เมื่อไหร่ ชาวบ้านจะได้อพยพเข้าไปอยู่ได้เมื่อไหร่ เพราะทุกวันนี้ต้องยอมรับว่ายังได้รับผลกระทบด้านแรงสั่นสะเทือนของการทำเหมืองของ กฟผ.อยู่เป็นระยะ หากยังไม่ได้รับคำตอบตนเองและชาวบ้านจะข้อแจ้งความดำเนินคดีกับกรมป่าไม้ที่ละเว้นไม่ดำเนินคดีกับผู้บุกรุกต่อไป

นางแสงจันทร์ มูลซาว ผู้ใหญ่บ้านห้วยคิงได้กล่าวว่า ตนเองและชาวบ้านต่อสู้กันมากว่า11ปี เพื่อต้องการอพยพ ขระนี้ชาวบ้านรวม 472 ราย ที่ยินยอมอพยพประมาณ 450 ราย ที่เหลืออีกประมาณ20รายไม่อพยพ เพราะเห้ฯว่าค่าชดเชยไม่คุ้มค่าพอที่จะไปสรา้งบ้านใหม่ในพื้นที่จึงไม่ประสงค์ที่จะย้าย แต่ส่วนใหญ่ที่ต้องการย้ายก็ยังไม่ได้ย้ายตนเองจึงได้ยื่นข้อเรียกร้องเพื่อให้ผู้ว่าราชการพิจารณารวม 4 ข้อ ผ่านทางนายอำเภอแม่เมาะคือ

1.จ่ายเงินชดเชยค่าเวณคืนให้กับราษฎรหมู่8 บ้านเมาะหลวง

2.ปรับพื้นที่รองรับการอพยพราษฎรหมู่6ห้วยคิง

3. ก่อสร้างสิ่งสาธารณูปโภคต่างๆในพื้นที่รองรับการอพยพให้กับราษฎรบ้านห้วยคิง

4.ขอรับเงินค่าเวณคืน อพยพราษฎรหมู่6ห้วยคิง ขอรับเงินค่าเวณคืนอพยพ พร้อมกับ4หมุ่บ้านของตำบลบ้านดง

หากทางบ้านห้วยคิงยังไม่ได้รับเงินค่าเวณคืน ห้ามมิให้มีการจ่ายให้กับราษฎรทั้ง4หมู่บ้านของตำบลบ้านดงเช่นเดียวกัน หากไม่ได้รับคำตอบ ขอนัดกันอีกครั้งในวันที่ 4 มีนาคม เพื่อดำเนินการแจ้งความร้องทุกข์ต่อกรมป่าไม้ในฐานละเว้นการปฎิบัติหน้าที่ ปล่อยปละละเลยให้ชาวบ้านจำนวน63รายบุกรุกยุดครองที่ป่าต่อไป

เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง

Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้