แห่ก๋วยสลากหลวง-ทำจากวัสดุธรรมชาติ-ใบสลากใช้ภาษาล้านนา-หนึ่งเดียวในลำปางที่ยังคงยึด-สืบสาน ประเพณี วัฒนธรรม ที่ดีงามให้อยู่คู่กับหมู่บ้าน ชุมชน สืบไป

Last updated: 26 ก.ย. 2565  |  725 จำนวนผู้เข้าชม  | 

แห่ก๋วยสลากหลวง-ทำจากวัสดุธรรมชาติ-ใบสลากใช้ภาษาล้านนา-หนึ่งเดียวในลำปางที่ยังคงยึด-สืบสาน ประเพณี วัฒนธรรม ที่ดีงามให้อยู่คู่กับหมู่บ้าน ชุมชน สืบไป

 

 

หนึ่งเดียวของจังหวัดลำปาง ประเพณีแห่ก๋วยสลากหลวงทำจากวัสดุธรรมชาติในท้องถิ่น แม้แต่ใบสลากยังให้ใช้ภาษาล้านนาเพื่อสืบสานประเพณีที่ดีงาม 

ตลอดวัน วานนี้ (25 กันยายน 2565) ชาวบ้านบ้านป่าตันเหนือ หมู่ที่ 5 และ บ้านป่าตันใต้ หมู่ที่ 6 ตำบลป่าตัน อ.แม่ทะ จ.ลำปาง ได้ จัดเตรียมตั้งขบวน สืบสานประเพณีทำบุญสลากภัต หรือที่ท้องถิ่นเรียกว่า “ตานก๋วยสลาก” แต่ในพื้นที่แห่งนี้แตกต่างไปจากที่อื่น โดยชาวบ้านได้ร่วมใจกันทำก๋วยสลากหลวง หรือ สลากภัตใบยักษ์ หนึ่งเดียวของจังหวัดลำปาง หรือ อาจจะเป็นหนึ่งเดียวในพื้นที่ทางภาคเหนือที่ยังสืบสานประเพณีที่ดีงามนี้ไว้  โดยวัสดุที่ใช้ทำมาจากวัสดุธรรมชาติเกือบทั้งหมด ที่หาได้ในท้องถิ่น นำมาตกแต่งบนรถเข็นที่ใช้คนลากจูง โดยไม่ให้ใช้รถยนต์หรือเครื่องยนต์ไดๆในการลากจูง เพื่อเป็นการอนุรักษ์สืบสานประเพณีท้องถิ่นให้ยั่งยืนสืบไป

โดยได้มีการจัดตั้งขบวนกว่า 30 ขบวน ยาวกว่า 2 กิโลเมตร ซึ่งเป็นการ่วมแรงร่วมใจของชาวบ้านในพื้นที่รวมไปถึงเทศบาลตำบลป่าตันนาครัว ที่ได้สนับสนุนในการจัดขบวนแห่ร่วมกับชาวบ้าน โดยบรรยากาศทั่วไปคึกคักเป็นอย่างมาก แม้ว่าก่อนที่จะมีการตั้งขบวนได้มีฝนตกลงมาอย่างต่อเนื่อง แต่หลังจากที่มีการเคลื่อนขบวน ปรากฏว่าฝนได้หยุดตกไปทันที ทำให้การเคลื่อนขบวนแห่มายังวัดป่าตันหลวง จุดหมายที่มาร่วมทำพิธีผ่านพ้นไปด้วยดี


ทั้งนี้ยังพบว่าสลากที่ใช้แจกจ่ายแก่พระภิกษุสงฆ์ สามเณร นั้น ยังอนุรักษ์ภาษาท้องถิ่นล้านนาน ลงไปในใบลานสลากกว่า 5 พันใบ เพื่อที่จะให้ภาษาท้องถิ่นล้านนาให้ยังคงอยู่ยั่งยืนต่อไป นับว่าเป็นการสืบสานประเพณีท้องถิ่นและภาษาท้องถิ่นล้านนาที่ดีงามอีกแห่งหนึ่งของจังหวัด

เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง

Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้