พาชมประเพณีฟ้อนผีที่ดีที่สุดของภาคเหนือที่ลำปาง ร่างทรงกว่า100ชีวิตเข้าร่วมคึกคัก

Last updated: 6 พ.ค. 2567  |  132 จำนวนผู้เข้าชม  | 

พาชมประเพณีฟ้อนผีที่ดีที่สุดของภาคเหนือที่ลำปาง ร่างทรงกว่า100ชีวิตเข้าร่วมคึกคัก

วันนี้ (6 พ.ค. 2567)  ที่บริเวณลานหน้าศาลหลักเมืองนครลำปาง ได้มีการประกอบพิธีฟ้อนไหว้สาสักการะเจ้าอารักษ์พ่อเจ้าหลักเมือง ประจำปี 2567 ซึ่งวันนี้ตรงกับเดือน7เหนือ แรม13 ค่ำ เริ่มต้นโดยพระครูปลัดสรยุทธ สรัญโญ เจ้าอาวาสวัดจำค่าวนาราม ได้ผู้ผูกผ้า7สี บริเวณเสาหลักเมืองทั้ง 3 เสา และพรมน้ำมนต์ในบริเวณการจัดงานเพื่อเป็นสิริมงคล

            จากนั้น ดร.อุดมศักดิ์  ศักดิ์มั่นวงศ์ ที่ปรึกษากรมส่งเสริมวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม ดร.นิมิตร จิวะสันติการ นายกเทศมนตรีนครลำปาง นางจิตรี จิวะสันติการ ประธานสภาวัฒนธรรมจังหวัดำปาง นางกรวรรณ สุ่มมาตย์ วัฒนธรรมจังหวัดลำปาง พลตรีทวี นางกุลภช ชาลีวรรณ ได้จุดธูปเทียน ขันเชิญเมือง และขันโตกเจ้าหลวง


            ดร.อุดมศักดิ์  ศักดิ์มั่นวงศ์ ที่ปรึกษากรมส่งเสริมวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม ได้กล่าวถึงความเป็นมาของการจัดงานประเพณีในครั้งนี้ว่าปัจจุบันประเพณีฟ้อนผีของลำปางซึ่งจัดโดยชมรมฟ้อนผีนครลำปาง ยังคงรักษาแบบแผนประเพณีไว้ได้ดีที่สุดในภาคเหนืออีกด้วย


            นางสาวอุบลรัตน์ ราชฟู ประธานชมรมฟ้อนผีนครลำปาง กล่าวรายงานการจัดงานประเพณีฟ้อนไหว้สาสักการะเจ้าอารักษ์พ่อเจ้าหลักเมืองนครลำปาง ว่าเป็นประเพณีที่สืบทอดกันมายาวนานจากรุ่นสู่รุ่น ซึ่งก็ถือเป็นวัฒนธรรม ประเพณีที่ดีงาม ที่ควรจุอนุรักษ์สืบไป


            จากนั้น ดร.นิมิตร จิวะสันติการ ได้กล่าวเปิดงาน ประธานสภาวัฒนธรรมจังหวัดลำปาง ได้จุดเทียนชัย ในผามฟ้อน จากนั้นจึงเริ่มทำพิธีไหว้ครู และยกขันเชิญ เชิญผีมด ผีเม็ง ผีปู่ย่าประทับทรงฟ้อนตลอดทั้งวัน

             ซึ่งในประเพณีนี้ เป็นประเพณีประจำท้องถิ่นของคนเมืองลำปาง ซึ่งเกี่ยวข้องกับคติในการนับถือบูชาบรรพบุรุษ คนในตระกูลจะเรียกผีของตนเองว่า ‘ผีปู่ย่า’ แต่คนนอกตระกูลจะเรียกว่า ‘ผีมด’ หรือ ‘ผีเม็ง’ ตามด้วยชื่อสถานที่ที่ต้นตระกูลตั้งถิ่นฐาน  ถือเป็นอีกหนึ่งประเพณีของคนโบราณที่ทำให้บรรพบุรุษ เพราะเชื่อว่าแม้จะเสียชีวิตไปแล้วแต่ดวงวิญญาณก็ยังคงอยู่เพื่อปกปักรักษาคนที่ยังมีชีวิตอยู่ ในพิธีก็จะได้เห็นการประกอบพิธีแบบโบราณ อาทิ การเชิญผีมด ผีเม็ง ผีปู่ย่า มาทานขันโตกอาหาร โดยการนำเทียนติดปลายดาบไปที่โตกอาหารจนครบทุกโตก จากนั้นวงดนตรีพื้นเมือง (วงป๊าด ก๊อง ก๋อง แน ) จำนวน 2 โตก

 

ระหว่างพักร่างทรงประทับฟ้อนรับประทานอาหาร ก็มีการแสดงค่าว ฮ่ไ จ๊อย ซอ ซึ่งเป็นการแสดงดนตรีแบบพื้นบ้านชาวเหนือ และเมื่อวงป๊าด ก๊อง ก๋อง แน บรรเลงดนตรี ร่างทรงก็จะประทับร่างทรงฟ้อนรำต่อไป พร้อมกับการละเล่นคือ การชนไก่ เพื่อบ่งบอกถึงการให้ความยำเกรงต่อผีปู่ย่า หรือผีบรรพบุรุษ ปัดต่อ ปัดแตน ยิงนก จับกระรอก คล้องช้าง คล้องม้า หว่านฝ้าน ยิงเสือ ทอดแห และถ่อเรือ ถ่อแพ จนกระทั่งปิดท้ายที่ผีปู่ย่าอื่นๆมาช่วยกันถอนต้นหว้าทิ้ง และ ออกมาฟ้อนดาบ เรียกว่า ฟ้อนล้างผาม หรือ ฟ้อนปิดผาม เป็นอันเสร็จพิธี

เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง

Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้